กำหนดเวลาต่าง ๆ ที่ต้องย่อลง ของ วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ประเด็นต่าง ๆ ทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาของกลุ่มประชากรที่อ่อนแอ และปัญหาการผลิตวัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดสล้วนอาจกดดันให้ย่อกำหนดเวลาต่าง ๆ ในการพัฒนาวัคซีนและในบางกรณี อาจรวมระยะการทดลองทางคลินิกหลายระยะเข้าด้วยกันแล้วทำพร้อม ๆ กันโดยใช้เวลาแค่เดือน ๆ ซึ่งปกติต้องทำเป็นลำดับต่อ ๆ กันเป็นปี ๆ[48]ยกตัวอย่างเช่น ผู้พัฒนาวัคซีนประเทศจีนและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจีน (Chinese Center for Disease Control and Prevention) ได้เริ่มงานพัฒนาวัคซีนในเดือนมกราคม 2020[77]แต่เพียงแค่ถึงเดือนมีนาคม ก็กำลังตรวจดูวัคซีนแคนดิเดตเป็นจำนวนมากโดยใช้กำหนดเวลาที่ย่อลง และมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีจีนเหนือของสหรัฐ และเพื่อให้ชาวจีนมั่นใจถึงคุณภาพวัคซีนที่ผลิตในจีน[48][78]

เพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนในกำหนดเวลาย่อ ๆ สำหรับโรคระบาดทั่ว ทั้งผู้พัฒนาวัคซีนและรัฐบาลได้ยอมรับความเสี่ยงเมื่อลัดวงจรพัฒนาวัคซีนปกติ[47]ผู้บริหารของอุตสาหกรรมคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า "วิกฤติการณ์ของโลกใหญ่จนกระทั่งเราแต่ละคนจะต้องยอมเสี่ยงที่สุดเดี๋ยวนี้เพื่อยุติโรคนี้"[47]มีเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายเรื่องรวมทั้งระดับความเป็นพิษที่ยอมรับได้ (คือความปลอดภัย) การตั้งเป้าที่กลุ่มประชากรที่อ่อนแอ ความก้าวหน้าอย่างมากของประสิทธิศัยก์วัคซีนที่ต้องมี ระยะการป้องกันของวัคซีน ระบบการส่งยาพิเศษ (เช่น ให้ทางปากหรือทางจมูก แทนที่จะะฉีด) ขนาดการให้ยา ความเสถียรของวัคซีนและวิธีการเก็บในคลัง การอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินก่อนได้รับอนุมัติทั่วไป วิธีการผลิตดีที่สุดเพื่อให้ได้วัคซีนเป็นพัน ๆ ล้านโดส และการแจกจำหน่ายวัคซีนที่ได้อนุมัติ[22][79]ถ้านับเริ่มจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 วัคซีนถึงร้อยละ 84-90 ล้มเหลวในช่วงพัฒนาการแล้วไม่ได้รับอนุมัติให้วางตลาดขาย[24][80] ถ้าเริ่มจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีนร้อยละ 25.7 ล้มเหลวและไม่ได้รับอนุมัติโดยที่สุด[80]ผู้ผลิตวัคซีนอาจจะลงทุนไปแล้วเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณสามหมื่นหนึ่งพันล้านบาท) โดยได้ผลิตวัคซีนเป็นล้าน ๆ โดสไปแล้วที่ใช้ไม่ได้[22][48][47]ในกรณีของโควิด-19 โดยเฉพาะ ประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่อัตราร้อยละ 70 อาจพอระงับการระบาดทั่ว เพราะถ้ามีประสิทธิศักย์เพียงร้อยละ 60 การระบาดก็ยังอาจต่อไปได้และประสิทธิศักย์ที่น้อยกว่าร้อยละ 60 จะไม่ก่อภูมิคุ้มกันหมู่พอระงับการกระจายเชื้อโดยตนเอง[22]

โรคที่ระบาดทั่วในปี 2020 ได้สร้างปัญหากับสถาบันวิจัยเพราะการเว้นระยะห่างทางสังคมและการปิดแหล็บ[81][82]อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนก็ขลาดแคลนขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการซื้อแข่งขันกันในระดับนานาชาติหรือการเข้ายึดของรัฐ[56]กำหนดเวลาต่าง ๆ สำหรับการทดลองทางคลินิก ซึ่งปกติเป็นกระบวนการที่ทำเป็นลำดับต่อ ๆ กันโดยใช้เวลาเป็นปี ๆ ก็กำลังย่อเป็นการทดลองตรวจความปลอดภัย ประสิทธิศักย์ และหาขนาดยาที่ทำพร้อม ๆ กันโดยใช้เวลาเป็นแค่เดือน ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัย[48][47]

แพลตฟอร์มเทคโนโลยี

ในเดือนกันยายน 2020 นักวิทยาศาสตร์ของเซพีรายงานว่า มีแพลตฟอร์เทคโนโลยี 9 แพลตฟอร์มที่กำลังวิจัยและพัฒนาในช่วงปี 2020 เพื่อสร้างวัคซีนต้านโควิด-19โดยยังมีวัคซีนแคนดิเดตเป็นจำนวนมากที่ไม่ระบุแพลต์ฟอร์มเทคโนโลยี[1]แพลตฟอร์มโดยมากสำหรับวัคซีนที่อยู่ในช่วงทดลองทางคลินิกจนถึงเดือนกันยายนได้เล็งโปรตีน spike ของไวรัสและรูปแบบต่าง ๆ ของโปรตีนนี้เพื่อใช้เป็นแอนติเจนหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค[1]แพลตฟอร์มที่กำลังพัฒนาในปี 2020 รวมเทคโนโลยีกรดนิวคลีอิก (คือ เอ็มอาร์เอ็นเอที่แปลงนิวคลีโอไซด์ [Nucleoside-modified messenger RNA, modRNA] หรือดีเอ็นเอ) เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่ไม่ขยายพันธุ์ เพปไทด์ โปรตีนจากยีนลูกผสม ไวรัสโควิดลดฤทธิ์ที่ยังเป็น และไวรัสโควิดที่ฆ่าแล้ว[83][1][22][24]

เทคโนโลยีวัคซีนที่กำลังพัฒนาเพื่อโควิดหลายอย่างไม่เหมือนกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่แล้ว แต่จัดเป็นของใหม่ที่ทำงานเฉพาะเจาะจงกับกลไกการแพร่เชื้อของโควิด[24][83][1][24]เทคโนโลยีที่ใช้ยังอาจเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการแอนติเจน และบางอย่างอาจมีประสิทธิผลดีกว่าในกลุ่มประชากรย่อยต่าง ๆ รวมทั้งคนชรา เด็ก หญิงมีครรภ์ และคนไข้ที่ภูมิต้านทานอ่อนแอ[1][24]

วัคซีนแคนดิเดตที่อาจสร้างโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 แล้วทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองรวมทั้ง (1) เอ็มอาร์เอ็นเอที่เข้ารหัสยีนของไวรัสซึ่งทำให้เซลล์สร้างโปรตีนของไวรัส (2) เป็นโปรตีนที่ผิวหุ้มไวรัสแบบลูกผสม (3) เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่มียีนของ SARS-CoV-2 ซึ่งทำให้เซลล์สร้างโปรตีนของไวรัส
แพลตฟอร์มเทคโนโลยีของวัคซีนโควิด‑19 (16 ธ.ค. 2020)[2]
แพลตฟอร์ระดับโมเลกุล[lower-roman 1] จำนวนแคนดิเดต จำนวนที่กำลังทดลองในมนุษย์
ไวรัสโควิดที่ฆ่าแล้ว[lower-roman 2] 19 5[lower-roman 3]
เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่ไม่ขยายพันธุ์[lower-roman 4] 35 4[lower-roman 3]
ใช้อาร์เอ็นเอ[lower-roman 5] 36 3[lower-roman 3]
หน่วยย่อยโปรตีนของไวรัสโควิด[lower-roman 6] 80 2[lower-roman 3]
ใช้ดีเอ็นเอ[lower-roman 7] 23 2[lower-roman 3]
อนุภาคคล้ายไวรัส[lower-roman 8] 19 1
เว็กเตอร์เป็นไวรัสที่ยังขยายพันธุ์[lower-roman 9] 23 0
ไวรัสโควิดเป็น ๆ แต่ลดฤทธิ์แล้ว[lower-roman 10] 4 0
  1. มีวัคซีนแคนดิเดตเป็นโหล ๆ ที่ไม่ระบุเทคโนโลยี[2]
  2. Inactivated virus
  3. 1 2 3 4 5 มีวัคซีนแคนดิเดตหนึ่งอย่างหรือยิ่งกว่าในการทดลองระยะที่ 2 หรือ 2-3
  4. Non-replicating viral vector
  5. RNA-based
  6. Protein subunit
  7. DNA-based
  8. Virus-like particle
  9. Replicating viral vector
  10. Live attenuated virus

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5552... http://www.chictr.org.cn/showprojen.aspx?proj=5665... http://www.cloverbiopharma.com/index.php?m=content... http://www.pmlive.com/pharma_news/gsk,_medicago_la... http://www.walvax.com/wosen/28.aspx //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14667748 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14676007 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15655773 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15885812 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16453264